ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น
1. การประกอบอาชีพ
(1) อาชีพเกษตรกรรม
อาชีพหลักของประชากรในตำบลนากลาง ประมาณร้อยละ ๒๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำประหลัง การทำการเกษตรกรรมยังต้องพึ่งพาธรรมชาติ
ตามสภาพภูมิอากาศ เป็นการปลูกพืชตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนมีผลต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของเกษตรกรในแต่ละปี
(2) อาชีพรับจ้าง
ประชากรร้อยละ ๓๕ ประกอบอาชีพรับจ้าง มีทั้งรับจ้างในภาคการเกษตร เช่น การเพาะปลูก การเก็บผลผลิต การไถปรับพื้นที่ การใส่ปุ๋ย เป็นต้น กลุ่มรับจ้างทั่วไป เช่น รับจ้างขับรถ การขนส่ง รับจ้างขุดดิน ถมดิน รับจ้างซ่อม เป็นต้น และการรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามขอบข่ายส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตำบลนากลาง
(3) อาชีพค้าขายและประกอบธุรกิจส่วนตัว ประเภท ร้านค้า ร้านอาหาร ธุรกิจบริการ ร้านอินเทอร์เน็ต ฯลฯ โดยเฉพาะหอพักที่มีอัตราการเปิดบริการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในรอบปีที่ผ่านมา
(4) อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/ลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ
(5) อาชีพอื่นๆ ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชน เก็บแยกขยะขาย แดนเซอร์ ฯลฯ
2. หน่วยธุรกิจในพื้นที่
โรงแรม - แห่ง
ธนาคาร - แห่ง
ปั้มน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน ๓ แห่ง
โรงสี จำนวน ๔ แห่ง
3. หน่วยอุตสาหกรรมในพื้นที่
ตำบลนากลางมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อตั้งอยู่ในเขตความรับผิดชอบตรวจสอบและดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง โดยสามารถแยกเป็นกลุ่มพื้นที่ดำเนินการได้ดังนี้
(1) กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่โครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย
1. บริษัท หยั่น หวอ หยุ่น จำกัด
2. บริษัท โคราช มัตสึชิตะ จำกัด
3. บริษัท สงวนพงษ์แทรกเตอร์ จำกัด
4. บริษัท ทิปโก้ แอสฟัลต์ จำกัด
5. บริษัท โคราชพลาสติกพาร์ท จำกัด
6. บริษัท คีปเฟซ จำกัด
7. บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด
8. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคราชคอนกรีตมิกเซอร์
9. บริษัท ไทยณรงค์ฟาร์ม จำกัด
(2) กลุ่มโรงานภายในโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร ตั้งอยู่ช่วงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) กม.231 ขนาดพื้นที่ 1,567 ไร่ มีเป้าหมายเป็นแหล่งลงทุนหน่วยผลิตหลักด้านอะไหล่/ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนส่วนโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร โกดังและส่วนสนับสนุนการขนส่ง ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมเปิดดำเนินการทั้งหมด จำนวน 9 โรงงาน
1. บริษัท เอ็ม เอ็ม ไอ เพรสิซั่น แอสแซมบลิ จำกัด
2. บริษัท ชินเอ ไฮเทค จำกัด
3. บริษัท สยาม ฟูโกกุ จำกัด
4. บริษัท เวอร์เท็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
5. บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัดมหาชน
6. บริษัท นาคากาวา ซังเกียว (ไทยแลนด์) จำกัด
7. บริษัท เอ.แอล.เอ็ม.ที (ประเทศไทยจำกัด) จำกัด
8. บริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม จำกัด
9. บริษัท โตเกียว เบียวคาเนะ (ไทยแลนด์) จำกัด
ในอนาคตมีโรงงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างขยาย และเตรียมการก่อสร้างเพิ่ม จำนวน 7 โรงงาน และโครงการเขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนครได้ขอขยายพื้นที่โครงการเพิ่มขึ้นอีก 337 ไร่ |